งานตีเส้นจราจร

เครื่องหมายจราจร บนพื้นทาง

เส้นแบ่งทิศทางจราจรเตือน
(เป็นเส้นประสีขาว ขนาดกว้าง 15 เซนติเมตร ยาว 300 เซนติเมตร เว้นช่องห่าง 100 เซนติเมตร) ความหมาย ให้ทราบว่าจะถึงเขตทางข้าม แยก เขตห้ามแซง เว้นแต่จะเปลี่ยนเส้นทางเดินรถ หรือกลับรถ ขับข้ามเส้นได้แต่ต้องระวังเป็นพิเศษ (สังเกตดูจะเห็นว่าเส้นจะยาวกว่า เส้นแบ่งทิศทางจราจรปกติ)
เส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซง
(เส้นทึบสีขาว ขนาดกว้าง 15 เซนติเมตร) ความหมาย ห้ามแซงหรือขับรถผ่านคร่อมเส้นโดยเด็ดขาด
เส้นแบ่งทิศทางจราจร คู่
(เส้นประคู่เส้นทึบ) (เป็นเส้นทึบสีขาว ขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร ขนานไปกับเส้นประสีขาวขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 200 เซนติเมตร เว้นช่องห่าง 200 เซนติเมตร เส้นทั้งสองมีระยะห่างกัน 15 เซนติเมตร) ความหมาย รถทางเส้นประอาจข้ามหรือแซงได้เมื่อปลอดภัย
เส้นแบ่งทิศทางจราจร ห้ามแซงคู่
เส้นแบ่งทิศทางจราจร ห้ามแซงคู่ (เส้นทึบคู่) (เป็นเส้นทึบสีขาว ขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร ขนานกันมีระยะห่างระหว่างเส้น 15 เซนติเมตร) ความหมาย ห้ามขับรถผ่าน ขับรถคร่อมเส้น ห้ามแซงโดยเด็ดขาดทั้งสองทิศทาง
เส้นแบ่งเดินรถประจำทาง
(เส้นทึบสีเหลืองขนาดกว้าง 20 เซนติเมตร) ความหมาย รถประจำทางหรือรถบรรทุกคนโดยสารที่อธิบดีกรมตำรวจกำหนด ให้ใช้ช่องทางเดินรถด้านซ้ายของเส้นนี้ รถประเภทอื่นห้ามขับผ่านเข้าไปในช่องนี้
เส้นทแยงสำหรับทางแยก
(เป็นเส้นทึบสีเหลืองขนาดกว้าง 15 เซนติเมตร ลากทแยงตัดกันทำมุม 45 องศา ห่างกัน 200 เซนติเมตร ภายในกรองเส้นทึบสีเหลือง ขนาดกว้าง 20 เซนติเมตร ) ความหมาย เป็นเส้นทึบสีเหลืองลากทแยงมุม ห้ามหยุดรถทุกชนิดภายในกรอบเส้นทแยงนี้
เส้นให้ทาง
(เส้นขวางถนน เป็นเส้นประสีขาว ขนาดกว้าง 40 เซนติเมตร ยาว 60 เซนติเมตร เว้นช่องห่าง 30 เซนติเมตร) ความหมาย เป็นเส้นประสีขาวข้ามถนนให้ผู้ขับขี่ขับรถให้ช้าลง แล้วดูให้รถอื่นที่ออกจากทางร่วม หรือคนเดินเท้าในทางข้ามที่ขวางหน้าผ่านไปก่อน เห็นปลอดภัยแล้วจึงขับรถผ่านไป
เส้นแบ่งภายในช่องเดินรถประจำทาง
ความหมาย ให้รถประจำทางหรือรถที่กำหนดวิ่งในช่องทางได้ทั้ง 2 ช่อง ทั้งซ้ายและขวาของเส้นนี้